วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ติดตั้ง appserv-win32-2.5.9

เข้าไปดาวโหลดที่เว็บ kitt.kvc.ac.th แล้วดับเบิ้ลคลิกเข้าไป save ไว้ที่โฟดเดอร์ c:/appserv แล้วดับเบิ้ลคลิกเข้าไปมันจะแสดงคำว่า run แล้วคลิกเข้าไปทำการติดตั้ง โปรแกรมจะแสดงหน้าจอ จะแสดง Welcome to the AppServ 2.5.9 Setup Wizard เป็นข้อความต้อนรับเข้าสู่การติดตั้ง ให้คลิกปุ่ม Next ได้เลย หน้าจอ จะแสดง License Agreement เป็นข้อความแสดงลิขสิทธฺ์ GNU LESSER เมื่อคุณอ่านและเข้าใจลิขสิทธิ์นี้แล้ว ก็คลิกปุ่ม I Agree ได้เลย หน้าจอ จะแสดง Choose Install Location เป็นการเลือกโฟลเดอร์ที่ใช้ในการติดตั้ง Appserv โดยค่าดีฟอลต์จะเลือกติดตั้งไปที่โฟลเดอร์ C:\AppServ เมื่อคุณเลือกโฟลเดอร์ได้แล้ว ก็คลิกปุ่ม Next หน้าจอ จะแสดง Select Component เป็นการเลือกส่วนประกอบของ AppServ ซึ่งมีดังนี้Apache HTTP Server - โปรแกรม Webserver ชื่อดัง ที่จำลองโฮสต์บนเครื่องของเราให้เลือกส่วนประกอบทั้งหมด โดยคลิกถูกหน้าช่องทั้งหมด แล้วคลิกปุ่ม Next หน้าจอ จะแสดง Apache HTTP Server Information เป็นการระบุรายละเอียดของโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache ซึ่งมีดังนี้Server Name - ชื่อของเซิร์ฟเวอร์ หรือชื่อโฮสต์ ในที่นี้ผมระบุเป็น localhost และ Administrator's Email Address - อีเมลของผู้ดูแลระบบ หรืออีเมลของคุณ ในที่นี้ผมระบบเป็น admin@localhost.com และ HTTP Port - ชื่อพอร์ต เป็นทางออกของข้อมูล โดย Apache จะมีพอร์ตดีฟอลต์คือ 80 เมื่อคุณกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็คลิกปุ่ม Next หน้าจอ จะแสดง MySQL Server Configuration เป็นการระบุรายละเอียดของโปรแกรมฐานข้อมูล MySQL ซึ่งมีดังนี้Enter root password -รหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ ในที่นี้กำหนดเป็น 1234 และกรอกช่องข้างล่างอีกใช้รหัสเดิมเหมือนกัน และเลือก UTF-8 Unicode เท่านั้น จากนั้นเมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็คลิกปุ่ม Install เพื่อติดตั้ง AppServ โปรแกรม AppServ จะทำการติดตั้ง ให้คุณรอจนกว่าจะขึ้นหน้าจอ AppServ 2.5.9 - Completing the AppServ 2.5.9 Setup Wizard ซึ่งแสดงว่าคุณได้ดำเนินการติดตั้ง AppServ เรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็คลิกปุ่ม Finish เพื่อสิ้นสุดการติดตั้ง AppServ นะค่ะ
เพื่อตรวจสอบการทำงานว่า ได้ลง AppServ อย่างถูกต้องเรียบร้อย ให้เข้าไปที่ localhost หน้าจอจะแสดง The AppServ Open Project -2.5.9 for windows ซึ่งแสดงว่าคุณได้ลง AppServ อย่างถูกต้องแล้วค่ะ

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความหมายของคำศัพท์

database
ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ด้านทะเบียนนักศึกษา จะมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลังเป็นข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บอย่างมีระบบเพื่อประโยชน์ในการจัดการและ การเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

DBMS (data base management system)
หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการฐานข้อมูล ช่วยในการสร้างฐานข้อมูล เพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล เรียกใช้ข้อมูล และปรับปรุงฐานข้อมูล

Database Administrators : DBAs
ของซอฟแวร์DBAs ฐานข้อมูลผู้ดูแล DBAs

Database Development
หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย

Data Definition Language : DDL
ภาษาที่ใช้สำหรับนิยามข้อมูล

Data Interrogation
การสืบค้นข้อมูล ความสามารถในการสืบค้นฐานข้อมูลเป็นผลประโยชน์หลักของระบบจัดการฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลสำหรับการขอสารสนเทศจากฐานข้อมูล โดยการใช้ภาษาสอบถาม (Query Language) หรือตัวสร้างรายงาน (Report Generator) ซึ่งทำให้สามารถรับคำตอบทันทีในรูปแบบของการแสดงทางจอภาพหรือรายงาน

Graphical and Natural Queries
กราฟิกและธรรมชาติการค้นหาผู้ใช้ ( และผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศ) หลายรายลำบากที่จะแก้ไขวลีของ SQL และคำถามภาษาฐานข้อมูลอื่นๆ ดังนั้นโปรแกรมสำเร็จรูปฐานข้อมูลส่วนใหญ่จึงเสนอวิธีการชี้และคลิกส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface : GUI) ซึ่งง่ายต่อการใช้และใช้ซอฟต์แวร์แปลให้เป็นคำสั่ง SQL หรือโปรแกรมสำเร็จรูปอื่นที่อาจใช้ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) ที่คล้ายกับการสนทนาภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆ

Application Development
หมายถึง วงจรการพัฒนาระบบ ให้มีขั้นตอนการทำงานที่รวบรัดมากขึ้น มีการเลือกเครื่องมือ (Tools) และเทคนิค (Techniques) ต่างๆ เพื่อช่วยในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้น ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว

Data Manipulation Language : DML
คือ ภาษาจัดการข้อมูล ภาษาที่ใช้สำหรับจัดการข้อมูลภายในฐานข้อมูล ได้แก่การเรียกค้น เพิ่ม ลบ และปรับปรุงฐานข้อมูล

Subject Area Database : SADB
หมายถึง ฐานข้อมูลซับเจ็กแอเรีย

Analytical Database
หมายถึง ฐานข้อมูลวิเคราะห์ เก็บข้อมูลและสารสนเทศที่ดึงมาจากฐานข้อมูลเชิงปฏิบัติการและฐานข้อมูลภายนอก ประกอบด้วยข้อมูลสรุปและสารสนเทศที่จำเป็นต่อผู้จัดการองค์กรและผู้ใช้

Multidimensional Database
หมายถึง ระบบฐานข้อมูลหลายมิติ

Data Warehouses
หมายถึง ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรหรือหน่วยงานหนึ่งๆ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูล
จากฐานข้อมูลระบบงานประจำวัน

Distributed Databases
หมายถึง ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายนี้จะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆ กระจายอยู่ตามไซต์ (Site) หรือสาขาต่างๆ ขององค์กร ลักษณะเช่นนี้จะมีความเหมาะสมมากกับธุรกิจธนาคารหรือธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

End User Databases
หมายถึง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คนอื่นสร้างหรือเขียนไว้แล้วมาใช้ ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้านต่างๆ

Field
เขตข้อมูล หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น

Record
ระเบียน หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย

Table
หมายถึง กลุ่มของข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือมีความสัมพันธ์กัน และถูกรวบรวมเป็นเรื่องราวเดียวกัน ถูกจัดมารวมอยู่ในที่เดียวกันอย่างเป็นระเบียบ ทำให้ง่ายต่อการค้นหา เข้าใจและนำไปใช้งาน

Entity
หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูลไว้ เช่น
เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน

InfraStucture Management
หมายถึง การจัดการโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่าย การพัฒนาโครงสร้างที่เอื้ออำนวยให้เกิด
ความเจริญเติบโตต่างๆ ทั้งในด้านนโยบายและด้านกายภาพ เช่น ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา